สารบัญ
1.Fiat Currency คืออะไร
2.ปัญหาของระบบ Centralize
3.Blockchain คืออะไร
4.Cryptocurrency เงินสกุลดิจิตอล
5.เงินดิจิทัลที่ ก.ล.ต. อนุญาตให้ซื้อ-ขายได้
6.สรุป
Blockchain คืออะไร แล้วมีผลอะไรกับเราไหม Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) จะเข้ามาแทนที่ Fiat Currency(เงินกระดาษ) ได้จริงๆหรือไม่ วันนี้เราจะพาทุกคนรู้จักและเข้าใจ ที่มาและที่ไป เพื่อให้ทุกคนเตรียมตัวรับกับกระแสหลัก และจะวางตัวเราอย่างไร พร้อมแล้วไปดูกันเลย
1.Fiat Currency คืออะไร
Fiat Currency หรือเงินกระดาษที่เราใช้ๆกันอยู่ทุกวันเกิดจากรัฐบาลกำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน และใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลกลางจะเป็นผู้ควบคุมทุกอย่าง แต่ก่อนการจะพิมพ์แบงค์ ต้องมีทองคำสำรองไว้ด้วย แต่สมัยนี้มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้วในหลายๆประเทศ ปัญหาที่ตามมาคือ เงินเฟ้สูง เพราะปริมาณเงินที่เพิ่มเข้ามาในระบบ และตามมาด้วยข้าวของแพง ประเทศก็เหมือนกับบริษัท ที่จะต้องบริหารให้อยู่รอด ไม่ล้มจม แต่เราก็เห็นแล้วว่า มีหลายประเทศที่ระบบการเงินพังพินาศ ซึ่งเราจะไม่ลงลึก มันจะยาวเกินไป เข้าใจหน้าที่ของเงิน
– เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange)
– เป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value) ขออธิบายเรื่องนีั้สักนิด การไม่เสื่อมสภาพ ไม่เน่าเสีย หรือมันยังคงมีมูลค่าคงเดิม เราจะเห็นว่าตอนนี้เงินกระดาษชักจะไม่เป็นเช่นนี้แล้วสิ เพราะการที่รัฐบาลแต่ละประเทศต่างพากันพิมพ์แบงค์ ออกกันมามากมาย
– เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account)
ของขวัญไอที สุดอินเทรนด์ 2021 งบไม่เกิน 500.-
เงื่อนไขรายการส่งเสริมการขาย
– รายการส่งเสริมการขายนี้เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ และช้อปผ่าน Bnn.in.th เท่านั้น
– รายการส่งเสริมการขาย มีผลระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. 2564 – 31 ธ.ค. 2564 เท่านั้น
– บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงราคา, ส่วนลด ,ของแถมและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
– หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อสอบถามข้อมูล 02-017-7788 ทุกวันเวลาทำการ 09:00 – 19:00 น.
2.ปัญหาของระบบ Centralize
1.ความไม่ปลอดภัย ในหลายๆครั้งที่เราได้เห็นข่าว ว่ามีคนเงินหายจากบัญชี ไม่ว่าจะเกิดจากการถูก Hack หรือ ถูกปลอมแปลงเอกสาร ทำให้เกิดเงินหายจากบัญชีผู้เสียหาย
2.ระบบช้า เป็นระบบที่ต้องนำข้อมูลทุกอย่างมาที่ศูนย์กลางและประมวลผล
ยกตัวอย่างเราต้องการโอนเงินไปต่างประเทศ จะต้องมีขั้นตอน และกินเวลานาน 4 -5 วันเลยทีเดียว
3.ต้องอาศัยความเชื่อใจ เชื่อถือ แต่เราก็เห็นกันอยู่ว่าหลายธนาคารล้มประสบปัญหา จนทำให้คนรับเคราะห์คือประชาชน
4.ระบบ (Centralize) ของการเงินแบบเดิมๆ ที่ไม่สามารถรักษามูลค่าของมันไว้ได้ เกิดความเหลื่อมล้้าอย่างมากต่อคนในสังคม ทำให้มนุษยชาติต้องเป็นทาสของนายธนาคาร และมหาเศรษฐีไม่กี่ตระกูล ก็ว่าได้
จนกระทั่งปี ค.ศ.1991 หรือ30ปีมาแล้ว คนกลุ่มหนึ่ง(ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร)เห็นปัญหาใหญ่นี้และต้องการให้คนปลดแอกจากอำนาจเดิมๆ ได้คิดค้นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain นี้ขึ้นมา
3.Blockchain คืออะไร
Blockchain คือ การเก็บข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย จากนั้นนำมาร้อยต่อกัน เหมือนโซ่คล้อง หรือ Chain ทำให้รู้ว่าข้อมูลเก็บเวลาใด มีการแก้ไขหรือไม่ และข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งและกระจายไปไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย ในทางทฤษฏีเราจึงเชื่อว่า ข้อมูลจึงมีความน่าเชื่อถือ เพราะทุกคนบนเครือข่าย เห็นการเปลี่ยนแปลงพร้อมกัน ถ้าใครอยากจะ Hack จะต้องเข้าไปแก้ไข ข้อมูลในเครื่องประมาณครึ่งนึงของเครือข่ายถ้าเราจะพูดว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ก็ว่าได้
รูปที่1
จากรูปที่1 ขออธิบายดังนี้
- Blockchain เก็บข้อมูลเป็น Block รูปแบบที่เรียกว่า Open ledger ข้อมูลใน Transaction ถูกเปิดเผย จากตัวอย่างเป็นข้อมูลการโอนเงิน จากใคร ไปให้ใคร จำนวนเงินเท่าไหร่ เป็นข้อมูลที่ไม่ได้เข้ารหัส ทุกคนสามรถตรวจสอบได้ ส่วนโอนจากใคร ไปให้ใครนั้นจะเห็นเป็น รหัสยาวๆ ซึ่งก็คือ Address หรือ Public Key
- Hash คือ Transaction data ที่เข้ารหัส ด้วย SHA256
- Prev เก็บข้อมูล Hash ของ Block ก่อนหน้า เราจึงเรียกว่า chain ถ้าเป็น Block แรกค่า Prev จะเก็บเป็น 0000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000
- Nonce คือ ตัวเลขที่นักขุดเหรียญ ทำการซุ่มตัวเลข เพื่อจะได้เป็นคนสร้าง Block
รูปที่2
ข้อมูล Blockchain จะถูกกระจายไปทุกNode ทั่วโลก ซึ่ง Node ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ Miner(นักขุดเหรียญ) นำเข้ามาร่วมในการตรวจสอบธุรกรรม ข้อมูลนี้ทุกคนจะเห็นเหมือนกัน แล้วถ้ามีใครอยากทุจริต แก้ไขหล่ะจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
รูปที่3
ถ้าใครก็ตามที่เข้าไปแก้ไขข้อมูลใน Blockchain จากรูป Block2 จะเห็นว่า Ripley โอนเงินให้ Lambert เป็นเงิน 97.67 $ ถ้าแก้ไขจำนวนเป็น 20,000 $ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
- จากเดิมข้อมูลที่ถูกบันทึก Hash ขึ้นต้นด้วย 0000 ข้อมูล Hash ถูก Generate ใหม่
- ข้อมูลต้องแต่ Blockที่2 เป็นต้นไปบอกถึงความผิดปกติของข้อมูล
- ข้อมูลใน Peer A จะไม่ได้รับการยอบรับอีกต่อไป
ปัจจุบัน เทคโนโลยี Blockchain ถูกนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรมแล้ว ธุรกิจการเงิน เป็นที่แรก ที่ Blockchain ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ ปัจจุบันเราเห็น Cryptocurrency เกิดขึ้นมาหลายสกุลแล้ว
4.Cryptocurrency เงินสกุลดิจิตอล
Cryptocurrency เงินสกุลดิจิตอลนี้ สร้างจากเทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้สร้างขึ้นจากหน่วยงานใดๆ ในเหรียญ แต่ละเหรียญ Cryptocurrency จะมีข้อมูลว่าใครเป็นเจ้าของ และส่งให้ทุกเครื่องบนเครือข่าย (Peer) ดังนั้นทุกคนในเครือข่ายจะสามารถเห็นยอดคงเหลือของทุกบัญชีได้ ทีนี้เรามาดูกันว่าวิธีการทำธุรกรรม Cryptocurrency มีหลักการอย่างไร
- คอมพิวเตอร์ส่วนตัวบนเครือข่าย(Peer) จะมี Public Key เปรียบเสมือนเลขบัญชี และ Private Key การเข้ารหัส หรือลายนิ้วมือ
- เราต้องใช้ Private Key เพื่อเข้าบัญชีส่วนตัว แล้วระบุจำนวนเหรียญ เพื่อโอนไปยัง Public Key ของผู้รับ ข้อมูลทั้งหมดถูกบันทึกใน Blockchain แล้วเข้ารหัส Hash Function แล้วส่งออกไปให้ทุกเครื่องบนเครือข่ายรู้ และรับรองความถูกต้องของธุรกรรมการเงินนี้
- นักขุด(Miner) มีหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย และความถูกต้อง เราเรียกกระบวนการ Proof of Work นักขุดต้องเดาคำตอบของการถอดรหัส Hash Function ให้ได้ ระบบจะยึดคำตอบส่วนมากของเครือข่ายเป็นอันถูก และนักขุดได้รับรางวัลเป็นเงินดิจิตอลนั่นเอง
5.เงินดิจิทัลที่ ก.ล.ต. อนุญาตให้ซื้อ-ขายได้
- Bitcoin (BTC)
เงินดิจิทัลสกุลแรกที่ถูกสร้างขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2552 จากโปรแกรมเมอร์ ที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto
ข้อดี
- อิสระอย่างแท้จริงไม่ขึ้นกับรัฐบาลไหน
- สามารถโอนเงินได้ ไม่กี่วินาที ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยมากๆ
- มันมี Stock to Flow Ratio คือ มันเป็น สินทรัพย์ที่หายาก การผลิตหรืออุปทานสูงสุดแค่ 21 ล้านเหรียญเท่านั้น และปริมาณอุปทานใหม่ที่เข้าสู่ระบบจะลดลง ครึ่งนึงทุกๆ 210,000 Block หรือประมาณ 4 ปี
- Bitcoin Cash (BCH)
ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2560 โดยการแบ่งเครือข่าย และสร้าง Blockchain ขึ้นมาใหม่แยกออกจากระบบของเหรียญ Bitcoin(BTC) เพื่อแก้ปัญหาที่พบบนเหรียญ Bitcoin ที่การทำธุรกรรม ที่ค่อนข้างนานในการตรวจสอบ ทำให้ BCH มีการชำระเงินเร็วขึ้นและค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า
- Ethereum (ETH)
Ethereum เป็นเครือข่ายระบบปฎิบัติการ หรือ Platform ที่ทำงานบน Blockchain
เป็นการรวมผู้ให้บริการ DeFi(Decentralized Finance) ซึ่ง Platform Ethereum จะขับเคลื่อนได้นั้น จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งก็คือเงินสกุล Ether (ETH) นั่นเอง
- Ethereum Classic (ETC)
Ethereum ชุดเดิมนั้นถูก Hack และทางออกที่ดีก็คือการย้ายข้อมูล ไปไว้ที่ Blockchain ใหม่ เนื่องจาก Blockchain เดิมแก้ไขไม่ได้ จึงเกิดเป็น Ethereum Classic ส่วนใคที่ถือครอง ETH อยู่ก่อนแล้ว จะได้ ETC จำนวนเท่ากับที่ถือครอง ETH
- Litecoin (LTC)
เป็นเหรียญที่แตกออกมาจาก Bitcoin ในปี 2011 มีความแตกต่างทางเทคนิค ที่ให้มีการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึมการทำงานให้เร็วขึ้น เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งบน คอมพิวเตอร์ มือถือ Wirex VISA Card
- Ripple (XRP)
ถูกสร้างด้วยบริษัท Ripple ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
- Stellar (XLM)
ถูกพัฒนาต่อมาจาก Ripple (XRP) ใช้สำหรับถ่าย โอน แลกเปลี่ยนกับสกุลเงินหลัก และรองรับการใช้งานของบุลคลทั่วไปที่โอนเงินจำนวนไม่มากนัก
6.สรุป
Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีการโอนสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โปร่งใส และไม่สามารถย้อนกลับได้ ที่บันทึกธุรกรรมระหว่างสองฝ่ายในลักษณะที่ตรวจสอบได้และถาวรโดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางเช่นธนาคาร สกุลเงินดิจิตอลที่สามารถโอนย้ายบนบัญชีแยกประเภทนี้ก็มีการกระจายอำนาจเช่นกัน Blockchain ทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ ง่ายขึ้นโดยไม่มีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการซื้ออสังหาริมทรัพย์และหุ้นด้วยสกุลเงินดิจิทัล การลงคะแนนเสียงในการตัดสินใจด้วยโทเค็น หรือแม้แต่การลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งโดยใช้สัญญาอัจฉริยะ เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ cryptocurrencies ได้นำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับเทคโนโลยีนี้ ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อบริษัทของตน Blockchain มีผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก และการรวมเข้ากับชีวิตประจำวันสามารถคาดหวังได้ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าเช่นกัน
อนาคตของ Blockchain & Cryptocurrency นั้นสดใส นี่จะเป็นเทคโนโลยีที่ปฎิวัติวงการที่สุดนับตั้งแต่อินเทอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยีนี้ มีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายรวมถึง
-Task อัตโนมัติ
– เพิ่มประสิทธิภาพในเวิร์กโฟลว์
– โมเดลธุรกิจที่ปรับขนาดได้สูง
– เครือข่ายกระจายอำนาจที่ให้ความโปร่งใสและไว้วางใจในการทำธุรกรรมทั้งหมด
– ลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม
– ความสามารถในการโอนมูลค่าไปทั่วโลกในไม่กี่วินาที
– ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ดีขึ้น