พรบ รถยนต์ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซื้อ พรบ รถยนต์ ต้องเข้าใจ

พรบรถยนต์

พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถคืออะไร

สารบัญ

ในช่วงปีที่ผ่านมาเชื่อว่าแทบทุกคนต้องได้ยินคำว่า พรบ รถยนต์ กันจนคุ้นหูแต่จะมีใครทราบบ้างว่าความหมายของ พ.ร.บ. ที่แท้จริงคืออะไร และให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขับขี่และผู้เดินถนนอย่างไรบ้าง หลายคนยังเข้าใจว่า พรบ รถยนต์ ให้ความคุ้มครองเฉพาะกับบุคคลที่ 3 หรือผู้ที่อยู่นอกรถเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ถูกตราขึ้น เพื่อให้ทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องมาจากรถ ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือเจ้าของรถ โดยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ให้ความคุ้มครอง เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัยเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน เช่น ค่าซ่อมรถแต่อย่างใด

โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ต้องทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. นี้ การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคัน ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ. มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเพราะเหตุประสบภัยจากรถโดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีในกรณี ที่บาดเจ็บหรือช่วยเป็นค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต
  2. เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
  3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

ใครบ้างที่ต้องทำ พ.ร.บ.

  1. เจ้าของรถ หรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ
  2. ผู้เช่าซื้อรถ หรือผู้มีสิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ
  3. เจ้าของรถที่นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

การฝ่าฝืนไม่ทำพ.ร.บ.ตามกฏหมายมีโทษ

ตัวอย่าง บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่น

  1. เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท
  2. ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับ

พรบรถยนต์

 

  1. ค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีจำนวนเงินดังนี้

  •  กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
  •  กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 65,000 บาท
  1. ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น

เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยบริษัททรับประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว เป็นดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลรวมกับค่าสินไหมทดแทน ไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 500,000 บาท ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่ ถ้ามีค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตให้นำมารวมด้วย และรวมแล้วเท่ากับ 500,000 บาท

รถที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำ พ.ร.บ.

  1. รถองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
  3. รถของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยราชการต่างๆ (ที่เรียกว่ารถราชการ) รถยนต์ทหาร แต่ไม่รวมรถของรัฐวิสาหกิจ

สำหรับวิธีการเบิก พ.ร.บ. จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ใบแจ้งความ)

เอกสารเพิ่มเติมกรณีบาดเจ็บ

  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
  • ใบรับรองแพทย์

เอกสารเพิ่มเติมกรณีกรณีเสียชีวิต

  • สำเนามรณะบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชนของทายาทในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)

สรุป

พรบ รถยนต์นับว่ามีความสำคัญต่อทุกคนที่ใช้รถใช้ถนน อย่างมาก ฉะนั้นเราไม่ควรละเลยในการจัดหา พรบ รถยนต์ สำหรับขั้นตอนการเคลม สามารถทำเรื่องเบิกประกัน พ.ร.บ. ได้ภายใน 180 วัน หลังจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ หรือวันที่ลงบันทึกประจำวัน ทั้งนี้คุณสามารถยื่นเรื่องให้โรงพยาบาลดำเนินการให้ หรือติดต่อบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (โทร. 1791) ได้เลย

ถ้าท่านสนใจสมัครสร้างรายได้จากการขาย พรบ รถยนต์ หรือประกันภัย คลิกที่นี่ ได้เลยคะ

พรบ รถยนต์ หรือประกันภัย ซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่ ได้เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *