พืชกระท่อมหรือที่รู้จักในชื่อ Mitragyna Speciosa เป็นสกุลของต้นไม้ในตระกูล Rubiaceae มีการใช้มานานหลายศตวรรษ เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกับกาแฟและเป็นต้นไม้เขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย มันสามารถเติบโตได้สูงถึง 10 ฟุตและมีลักษณะคล้ายกับต้นโอ๊ค
ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อลดความวิตกกังวลและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ใบกระท่อมยังมีส่วนในการรักษา “อาการลงแดง” จากยาเสพติด ในสมัยก่อนนำมาใช้เพื่อช่วยในการอดฝิ่น
คนที่ทำงานหนักในพื้นที่ภาคใต้ เช่นชาวสวน ชาวไร่นิยมเคี้ยวใบกระท่อม เพื่อช่วยให้ทำงานกลางแดด หรือสู้แดดได้ดี ไม่เหนื่อยง่าย ร่ายกายกระปรี้กระเปร่า สดชื่น เปรียบเสมือนการดื่มกาแฟของคนเมืองนั่นเอง โดยเขาจะรูดเนื้อใบกระท่อม(ไม่เอาเส้นใบ) ใส่ปากเคี้ยว เหมือนหมาก พอเคี้ยวจนจอก็คายกากออกมา
ข้อมูลตำหรับยาแพทย์แผนโบราณของ “ขุนโสภิต บรรณลักษณ์” (อำพัน กิตติขจร) โดยเป็นตำราที่ กระทรวงสาธารณสุขให้การรับรอง ได้ระบุสรรพคุณพืชกระท่อม ว่าหลักๆคือใช้ในการแก้ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้อักเสบ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แก้อาการ “ลงแดง”
สาร “ไมทราไจนีน” (Mitragynine) ที่พบในพืชกระท่อมนั้น เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คล้ายกับกาแฟ ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า หมอพื้นบ้านจะนำมาใช้ผลมกับสมุนไพรอื่นๆไว้ใช้แก้โรคต่างๆ
สารบัญ
1 ประโยชน์ของพืชกระท่อม
-
การใช้รักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง
-
รักษาโรคเบาหวาน
-
แก้ปวดเมื่อย ช่วยกล้ามเนื้อลายคลายตัว
-
แก้ไอ
-
รักษาความดันโลหิตสูง
-
บำบัดอาการลงแดงจากยาเสพติด
-
ออกฤทธิ์คล้ายกับยารักษาอาการของโรคซึมเศร้า
-
มีผลต่อความอยากอาหาร ลดความอยากอาหารเมื่อใช้เป็นเวลานาน น้ำหนักตัวจะลดลง
2 สายพันธ์ุพืชกระท่อม
-
กระท่อมเขียวมาเลสายพันธุ์มาเลย์
มีต้นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย เป็นพืชอาหารสมุนไพรที่คนมาเลเซียใช้กินกันเพื่อบรรเทาอาการปวด ลักษณะพื้นใบจะมีสีเขียวคล้ายกับสายพันธุ์อื่นๆมีใบหนาขอบใบหยักปลายใบแหลม มักมีเม็ดขาวใต้ใบ กระท่อมเขียวมาเลย์มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อออกฤทธิ์แรงเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่แต่ถ้าว่าอยากจะลองจริงๆให้เริ่มจากลองกินทีละนิดก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณเพื่อดูอาการ ใบกระท่อมสายพันธุ์นี้ยังสามารถใช้รักษาโรคกระดูกพรุนซึ่งเป็นภาวะที่นำไปสู่ความเปราะบางของกระดูก
-
กระท่อมขี้หมู
เป็นชื่อเรียกชื่อหนึ่งของต้นกระทุ่มนา ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งมีชื่อสามัญว่า Mitragyna ลักษณะใบจะคล้ายกับใบกระท่อม ใบมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตและออกฤทธิ์ต่อประสาทและกล้ามเนื้อจัดอยู่ในพืชวงศ์เข็ม เช่นเดียวกันกับกระทุ่มบก ลักษณะของต้นกระท่อมขี้หมูเป็นพันธุ์ ขนาดกลางเป็นทรงกลมมีความสูงได้ประมาณ 8 ถึง 15 เมตรแตกกิ่งแขนงต่ำลำต้นเปลือกลำต้นด้านนอกเป็นสีเทาหลุดออกเป็นแผ่นเล็กๆ มีรูระบายอากาศขนาดใหญ่ทั่วไปทำให้ดูเปลือกขุขระส่วนเปลือกด้านในจะเป็นสีเหลืองอ่อน กระท่อมขี้หมูลักษณะใบจะเป็นแบบใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามเวียนสลับตั้งฉากกันลักษณะของใบจะเป็นรูปไข่รูปขอบขนานหรือรูปรีหรือรูปก้นข้างกลม ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นที่ค่อนข้างตรงใกล้น้ำและตามทุ่งนาทั่วไป ประโยชน์ของต้นกระท่อมขี้หมูใบจะมีรสขมเฝื่อน เป็นยาแผนโบราณของไทย จะใช้ใบกระท่อมขี้หมูเป็นยาแก้ท้องร่วง ปวดมวนท้องซึ่งมีฤทธิ์เหมือนใบกระท่อม แต่อ่อนกว่าสามารถนำมาใช้แทนกันได้ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือดเหลือต้นจะมีรสฝาดร้อนใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังทุกชนิดและแก้โรคมะเร็งคุดทะราด
-
กระท่อมสายพันธุ์โพธิ์ทอง
มีลักษณะใบใหญ่คล้ายใบโพธ์ ใบมีสีเขียว พื้นใบไม่เรียบก้านใบและเส้นใบจะมีสีเหลืองมีรสชาติขมเฝื่อนฝาด คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมกินกันและค่อนข้างหายาก
- กระท่อมสายพันธุ์ก้านแดง
มีพื้นใบสีเขียวลักษณะก้านใบจะเป็นสีแดง แดงมากแดงน้อยอาจจะแตกต่างกันหน่อยใบมีขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากปลายใบเรียวแหลม มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์รสชาติจะขมเข้มกว่าสายพันธุ์อื่น หากกินแล้วจะเมามาก นิยมมากกว่าเขียวสดเนื่องจากออกฤทธิ์มึนเมา มากกว่าตัวอื่นและยาวนานกว่า 30 นาทีหลังจากกินเข้าไปแล้วบางทีอาจจะทำให้มีอาการปวดหัวมากกว่าสายพันธุ์อื่น ถ้าเป็นสายพันธุ์ก้านแดงในภาคใต้จะมีก้านและเส้นใบที่เป็นสีแดงมากกว่าสายพันธุ์ก้านแดงในภาคกลาง ก้านแดงจะออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าก้านเขียวประมาณ 5 นาที ความคงทนของฤทธิ์ที่นานกว่าก้านเขียวประมาณ 2 ชั่วโมง ในขณะที่กินปริมาณเท่ากันเวลาเดียวกันส่วนเวลาใช้ปรุงอย่ามักใช้ก้านแดงเป็นกระท่อมตัวผู้และก้านเขียวเป็นกระท่อมตัวเมียถ้าใช้ก้านแดงจะแรงกว่าและปริมาตรที่ใช้ก็ต้องลดลงเวลาปรุงยาก็จะใช้ทั้ง 5 ส่วนคือรากเปลือกใบดอกและเมล็ดแต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ใบ
-
กระท่อมสายพันธุ์แตงกวา
ลักษณะใบจะมีสีเขียวก้านใบมีสีเขียวแต่จะมีเส้นใบสีเขียวที่อ่อนกว่าแผ่นใบใบเรียวยาวผิวหยาบใบนิ่มปลายใบแหลมเหมือนใบโพธิ์ส่วนก้านใบจะมีสีเขียวหรือสีขาวมีทั้งสายพันธุ์ภาคใต้ใบเรียวกว่าใบจะยาวๆนิ่มๆบางทีก็กลายเป็นใบยาวคล้ายใบมะม่วง
-
กระท่อมสายพันธุ์เหรียญทอง
กระท่อมตัวนี้ในส่วนของการต้มน้ำกระท่อมนั้นน้ำจะออกเป็นสีเหมือนน้ำอ้อย เป็นกระท่อมสายพันธุ์ที่นิยมมากในภาคกลางเช่นลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี
-
สายพันธุ์แมงดาหรือสายพันธุ์หางกั้ง
สำหรับภาคกลางจะเรียกแมงดาแต่ถ้าเป็นชื่อสายพันธุ์หางกั้งจะเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในภาคใต้ มีรสชาติที่ฝาดขมน้อยกำลังดีลักษณะใบจะหนามีหางคล้ายหางกั้งมีตั้งแต่หาง 7 หางไปจนถึง 9 หางขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นด้วย มีทั้งชนิดที่เป็นก้านเขียวและก้านแดงส่วนก้านแดงจะเจอน้อย สายพันธุ์นี้อร่อยเวลาต้มน้ำกระท่อมสีจะออกขุ่นๆมีกลิ่นหอมเวลาต้มลักษณะพิเศษของสายพันธุ์แมงดาใบค่อนข้างจะเก็บได้นานกว่าสายพันธุ์อื่น
-
กระท่อมกลาย
หลายคนมักบอกว่ากระท่อมกลายเป็นกระทุ่มซึ่งที่แท้จริงแล้ว กระท่อมกับกระทุ่มมีชื่อคล้ายใบคล้ายกันก็จริงแต่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นอีกชนิดได้ สำหรับภายในที่นี้ก็คือใบของกระท่อม มีรสชาติที่ฝาดเฝื่อนและยางมันน้อยกว่ากระท่อม
3 วิธีการขยายพันธ์ุ
-
การปลูกกระท่อม
3.1 ระยะการปลูกกระท่อม : ปลูกระยะ 4×4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่จะสามารถปลูกได้ 100 ต้น (แต่ถ้าปลูกแซมในสวนยางก็ปลูกระหว่างร่องยางแบบสลับฟันปลาโดยมีระยะการปลูก 3×7 เมตร = 76 ต้นต่อไร่หรือ 6×7 เมตร= 38 ต้นต่อไร่ก็จะไม่แน่นจนเกินไป)
3.2 ดินและน้ำสำหรับปลูกกระท่อม : ดินที่ใช้ปลูกกระท่อมควรเป็นดินร่วนซุย (ชาวบ้านนิยมใช้ปุ๋ยคอกผสมดิน) ควรมีน้ำอย่างทั่วถึงและปลูกกลางแจ้งเพื่อลดโรคเชื้อราจุดดำได้ (หรือเอาน้ำปูนขาวละลายรดหรือฉีด)
3.3 การเก็บเกี่ยวใบกระท่อม : ใบกระท่อมสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไปโดยให้เก็บเฉพาะใบแก่ แต่ถ้าจะให้ผลผลิตเต็มที่ต้นกระท่อมควรมีอายุ 5 ปี จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวใบกระท่อมได้ต้นละ 1 กิโลกรัมและสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุก 15 – 20 วัน
-
วิธีการปลูกกระท่อมด้วยเมล็ด
การปลูกกระท่อมด้วยเมล็ดที่ทำได้รวดเร็วและสะดวกวิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดกระท่อมเจริญเติบโตในระยะเวลาอันรวดเร็ว ประมาณ 5-7 วัน และไม่ต้องรดน้ำตลอดระยะเวลาดังกล่าว ปลูกแบบเพาะเมล็ดก็คงจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อยต้อง 3 ปีขึ้นไปถึงจะมีคุณภาพ โดยมีขั้นตอนวิธีการปลูกดังนี้
- นำดินปลูกหรือพีทมอสใส่ลงในกระบะหรือกะละมังประมาณครึ่งหนึ่งของพาชนะ
- รดน้ำให้ดินชุ่มหรือเปียกอย่างเห็นได้ชัด
- ค่อยๆ โรยเมล็ดกระท่อมลงไปอย่าให้ชิดกัน พยายามกระจายเมล็ดกระท่อมให้มากที่สุด
- นำดินปลูกหรือพีทมอสมาโรยทับด้านบนบางๆ แล้วรดน้ำให้ชุ่มเปียกอีกครั้ง
- หุ้มกระบะหรือกะละมังปลูกด้วยพลาสติกใสไม่ให้อากาศเข้าได้
- ปิดทิ้งไว้ไม่ต้องรดน้ำ และวางไว้ในที่ร่มเป็นเวลาประมาณ 5-7 วัน
- เมื่อครบกำหนดแล้วนำออกมารดน้ำเช้า-เย็น
- เมื่อต้นกล้างอกขึ้นมาได้ระดับหนึ่งแล้วให้ย้ายไปปลูกต่อไป
-
ยอดกระท่อมที่เสียบต่อกระทุ่ม
เป็นการย่นระยะเวลาการเจริญเติบโต จะเห็นว่าต้นกระท่อมที่เสียบต่อกระทุ่มประมาณสัก 6-7 เดือนก็สามารถเก็บใบมาบริโภคได้แล้ว
4 โอกาสทางธุรกิจของ “พืชกระท่อม”
เป็นที่ต้องการในตลาดอเมริกาและยุโรปอย่างมาก ชาวต่างชาติมองพืชกระท่อม เป็นสมุนไพรที่พระเจ้าประทานให้คนไทยเลยทีเดียว ถ้าคุณนึกไม่ออกว่ามูลค่าการตลาดพืชกระท่อมจะมากขนาดไหน ลองเทียบกับมูลค่าตลาดสินค้า ประเภท Energy drink เพราะนี้เป็นก้าวแรกของสรรพคุณที่ต่างชาติรับรู้ แล้วถ้ารวมกับมูลค่าตลาด ยา เพื่อใช้การรักษาโรคเช่น โรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน ปวดเมื่อย ช่วยกล้ามเนื้อลายคลายตัว และลดความอ้วน
มีนักธุรกิจหลายรายสนใจใบกระท่อมเป็นอย่างมาก ผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง เชื่อว่าพืชกระท่อม สามารถแทน”การูด้า” ที่ปัจจุบันเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มชูกำลัง
-
กระท่อม มีโอกาสที่เปิดกว้างในตลาดต่างประเทศ
หลังจากนี้ประเทศไทยมีโอกาสที่จะส่งออก กระท่อม สู่ตลาดระดับโลกในหลายประเทศในฐานะพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูง
-
โลกการส่งออกพืชกระท่อมในระดับโลกยังมีอยู่อย่างจำกัด
เพราะแม้กระท่อมจะเป็นพืชท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีเพียงอินโดนีเซียเท่านั้นที่สามารถส่งออกได้อย่างถูกกฎหมาย ทำให้ตอนนี้การส่งออกกระท่อม 90%-95% เป็นของอินโดนีเซีย
-
ในต่างประเทศการบริโภคกระท่อมมีความหลากหลาย มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า บำบัดยาเสพติด ไปจนถึงบำรุงร่างกายในด้านต่างๆ และมีการจำหน่ายกระท่อมในลักษณะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ชา ผงแห้ง อาหารเสริม ยาดม
-
โอกาสครั้งใหญ่ของเกษตรกรไทยรายเล็ก
ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้กระโดดเข้ามาเล่นในธุรกิจนี้แล้ว โดยใช้วัตถุดิบจากอุปทานที่มีจำกัด โดยเฉพาะในจังหวัดทางภาคใต้ที่ผู้มีผลผลิตกระท่อมในมือ จะได้รับประโยชน์ผ่านการขายใบกระท่อมสดที่มีราคาค่อนข้างสูงเฉลี่ยราว 250-350 บาทต่อกิโลกรัม
เชื่อว่าในอนาคต “กระท่อม” จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่อาจช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงหลังโควิดได้ แม้จะมีการคาดการณ์ตัวเลขดังกล่าว แต่จะไม่สามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดได้
เพราะในที่สุดคงต้องขึ้นอยู่กับระดับการตอบรับของตลาดกลางน้ำและปลายน้ำที่ใช้วัตถุดิบจากกระท่อมเป็นหลัก
จากที่แอดได้ศึกษาหาความรู้เรื่องพืชกระท่อมมานั้น สายพันธ์ุที่เป็นที่ต้องการของตลาดคือสายพันธ์ุก้านแดง ใช้เพื่อการแปรรูปทำผลิตภัณฑ์